ให้สังเกต พยัญชนะ ร ที่เมื่อควบกับพยัญชนะตัวหน้า และประสมสระตัวเดียวกัน แต่เวลาอ่านจะไม่ออกเสียง พยัญชนะ ร โดยจะอ่านเป็นเสียงอื่นแทน ดังนี้
คำควบไม่แท้ที่มี ซ, ศ, ส, เป็นพยัญชนะตัวหน้า ร : ให้อ่านออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้าเท่านั้น เช่น จริง (อ่านว่า จิง), ไซร้ (อ่านว่า ไซ้), เศร้า (อ่านว่า เส้า), เสริม (อ่านว่า เสิม), ศรัทธา (อ่านว่า สัด-ทา) เป็นต้น
คำควบไม่แท้ที่มี ท เป็นพยัญชนะตัวหน้า ร : ให้อ่านออกเสียง ทร เป็นเสียง ซ แทน เช่น ทรง (อ่านว่า ซง), ทราย (อ่านว่า ซาย), ทรัพย์ (อ่านว่า ซับ), ทราบ (อ่านว่า ซาบ), โทรม (อ่านว่า โซม), พุทรา (อ่านว่า พุด-ซา) เป็นต้น
คำควบกล้ำที่ใช้ในภาษาไทยมีหลากหลายความหมาย ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมภาษาที่สำคัญของคนไทย หากเรารู้หลักการเขียนและวิธีการออกเสียงแบบง่ายๆ ก็จะช่วยให้นำคำควบกล้ำแท้ และคำควบกล้ำไม่แท้ ไปใช้เขียนหรือพูดสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ถูกต้องชัดเจนมากยิ่งขึ้น