คำควบกล้ำแท้
คำควบกล้ำแท้
คำควบกล้ำแท้ หมายถึง คำควบกล้ำที่ออกเสียงพยัญชนะทั้งสองตัว
อักษรควบแท้ คือ อักษรควบที่เกิดจากพยัญชนะ 2 ตัวที่มี ร ล ว ประสมอยู่ แล้วอ่านออกเสียงพยัญชนะทั้งสองตัวพร้อมกัน ตัวอย่างอักษรควบแท้ที่ประสมกับ ร - กร ขร คร ตร ปร พร ตร เช่น กราบ ขรุขระ ครึ่ง ตรี ปรับปรุง พรม ตัวอย่างอักษรควบแท้ที่ประสมกับ ล - กล ขล คล ปล ผล พล เช่น กลม เขลา คลอเคลีย แปลก เผลอ พลอย
ข้อสังเกตง่ายๆ เพื่อพิจารณาว่าคำใดในภาษาไทยเป็นคำควบกล้ำแท้ ให้ดูว่าพยัญชนะ ร, ล, ว ควบกับพยัญชนะต้นตัวหน้า และประสมสระตัวเดียวกันหรือไม่ โดยเมื่ออ่านออกเสียง ก็จะต้องออกเสียงพยัญชนะทั้งสองตัวควบพร้อมกัน ดังนี้
คำควบแท้ที่พยัญชนะต้นควบกับ ร : ยกตัวอย่างเช่น กราบ, เกรง, ขรุขระ, ครัว, ครอบครัว, เคร่งครัด, ครื้นเครง, ปรังปรุง, โปรดปราน, พร้อม เป็นต้น
คำควบแท้ที่พยัญชนะต้นควบกับ ล : ยกตัวอย่างเช่น ไกล, เกลี้ยกล่อม, ขลัง, ขลาด, โคลงเคลง, เพลิดเพลิน, เพลิง, ปลวก, แปลก เป็นต้น
คำควบแท้ที่พยัญชนะต้นควบกับ ว : ยกตัวอย่างเช่น กวาด, กว้างขวาง, ขวาน, ขวัญ, ไขว่คว้า, ขวนขวาย, ควาย, แคว้น, ควัน, เคว้งคว้าง เป็นต้น
ข้อควรระวังในการจำคำควบกล้ำ : คำที่มีพยัญชนะ ว บางคำก็ไม่ใช่คำควบกล้ำแท้ แต่เป็นพยัญชนะ ว ที่แทนเสียงสระอัว เช่น สวย, ควร เป็นต้น